บาป-บุญ คุณ-โทษกับชีวิตของคนสมัยใหม่

เรื่องบาปบุญคุณโทษ

Categories :

ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องบาปบุญคุณโทษนั้นอยู่คู่กับชาวไทยมาแต่สมัยก่อน เรียกได้ว่าเป็นอีกสิ่งที่หนึ่งเอาไว้สอนลูกหลานและยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนให้เป็นอันนึงอันเดียวกันในการทำความดี พิชิตความชั่วต่าง ๆ นานา  หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำสั่งสอนของผู้ใหญ่เกี่ยวกับเรื่องเวร-กรรม กันมาพอสมควรใช่มั้ยหล่ะครับ ในบทความนี้จะพาทุก ๆ ท่านไปทำความเข้าใจหลักของคำว่า บุญ-บาป ตามหลักศาสนาหมายความว่าอะไรและจะพาทุก ๆ ท่านไปสำรวจแนวคิดสมัยต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ให้ทุก ๆ ท่านได้ศึกษาเพื่อเป็นความรู้กันครับ

บุญคืออะไร?

ความหมายของคำว่า “บุญ” ในทางพุทธศาสนา หมายถึง สภาพธรรมที่ดีงามทั้งต่อสิ่งรอบตัว ตนเองและเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน หากไม่มีการศึกษาหรือการอธิบายจากผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว ในบางครั้งเราอาจจะเห็นการตัดสินใจที่ผิด ๆ ถูก ๆ ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไม่ดีก็เป็นได้

บาปคืออะไร?

ความหมายของคำว่า “บาป” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง ธรรมอันไม่ดีงาม เป็นการกระทำที่เบียดเบียนต่อสิ่งรอบข้าง ไม่เว้นแม้แต่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  หลายๆ ท่านคงมักจะได้ยินการทำบาปกรรมในรูปแบบต่าง ๆ แต่ถึงกระนั้นการที่จะมองให้เห็นภาพว่าสิ่งใดคือสิ่งที่ไม่ดีหรือว่ามันคือบาป สามารถทำความเข้าใจโดยยึดหลัก “ศีล 5” เป็นแนวทางในการยึดเหนี่ยวจิตใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งศีล 5 มีรายละเอียดดังนี้

ข้อที่ 1 ตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ 
ข้อที่ 2 ตั้งใจงดเว้นจากการลักขโมย
ข้อที่ 3 ตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ข้อที่ 4 ตั้งใจงดเว้นจากการพูดเท็จ พูดคำหยาบ คำส่อเสียด เพ้อเจ้อ 
ข้อที่ 5 ตั้งใจงดเว้นจากดื่มสุรา

การที่เรารักษาศีล 5 ไม่เพียงแต่จะทำให้เราเป็นบุคคลที่ดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่นแล้ว ศีล 5 ยังสามารถช่วยในเรื่องของหลักการใช้ชีวิตได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ไม่ลักขโมยของของผู้อื่นนั้น จะสอนให้เราเป็นคนดีไม่ลักขโมยสิ่งของที่ผู้อื่นหามาด้วยน้ำพักน้ำแรงอย่างอยากลำบาก การที่คนเราทำแบบนี้กับทุกๆ คนสลับวนไปนั้น จะทำให้สังคมมนุษย์ปัฏิบัติต่อกันเป็นอย่างดีนั้นเอง

คนรุ่นใหม่ยังเชื่อเรื่องบาป-บุญ คุณ-โทษ หรือไม่? 

จากการหาข้อมูลทางโซเชียล ผ่านการโพสและการตั้งกรทู้ต่าง ๆ บนโลกอินเตอร์เน็ตพบว่า คนรุ่นใหม่ยังให้ความเชื่อถือในเรื่องบาป-บุญ การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอยู่เป็นส่วนใหญ่ เพียงแต่ไม่ได้ยึดถือในเรื่องของพระพุทธศาสนาโดยตรงเหมือนคนสมัยก่อน เพราะคนสมัยนี้เล็งเห็นถึงการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน ทำความดีโดยไม่ต้องอ้างถึงการทำเพื่อศาสนา จึงทำให้คนรุ่นใหม่ถึงแม้จะไม่รับถือศาสนาแล้ว  ก็ยังเป็นคนดีของสังคมได้นั้นเอง

ทั้งนี้ขอฝากข้อคิดถึงท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านไว้ว่า “การทำดี ไม่จำเป็นต้องหวังสิ่งตอบแทนเสมอไป เพราะการทำความดีต่อกันๆ จะช่วยให้สังคมหน้าอยู่มากขึ้นกว่าในปัจจุบันอย่างแน่นอน”